Why Nostr? What is Njump?
2023-09-25 08:27:29

RightShiftCuration on Nostr: มัดรวม!! บทความ Long-form ของเพื่อนๆ ...

มัดรวม!! บทความ Long-form ของเพื่อนๆ #Siamstr หาเวลาตามเก็บกันตามอัธยาศัยนะจ้ะ 😘 | สังคมแห่งการแบ่งปัน-ผลักดัน-มีส่วนร่วม | รีโพสต์/บุ๊คมาร์ค เก็บไว้ เป็นกำลังใจให้ Contributor ทุกท่านกันครับ

เมื่อรัฐคือต้นตอของวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศอาร์เจนตินา | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/EqmFhFTg

ประเทศอาร์เจนตินาประสบกับวิกฤตเรื้อรังทางเศรษฐกิจมาโดยตลอดตั้งแต่ทศวรรษ 1970s เศรษฐกิจเกิดความเสื่อมถอยครั้งใหญ่ทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรลดลงมากถึง 20% ภาคการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจก็หยุดชะงักทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวต้องหาแนวทางในการแก้ไขอย่างเร่งด่วน (Veigel 2005) โดยการแก้ไขปัญหาก็เลยมาถึงปีทศวรรษ 1990s ของรัฐบาลผู้นิยมลัทธิเปรอน (Peronist) อย่างคาร์ลอส เมเนม (Carlos Menem) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิปดีของอาร์เจนตินาในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1989 เขาดำเนินนโยบาย "การบำบัดด้วยอาการช็อก" ("Shock Theraphy") ตามนโยบายเสรีนิยมใหม่ ทำให้การบริหารภาครัฐเริ่มมีการทรงตัวมากขึ้นจะเห็นได้จากการเริ่มต้นทำให้ภาครัฐมีวินัยทางการคลัง ถึงแม้ว่าการขาดดุลงบประมาณยังคงอยู่ราว ๆ 16% ต่อจีดีพี (de Beaufort Wijnholds, J. Onno 2003) พร้อมกันนั้นภายใต้การบริหารของคาร์ลอส เขาได้ริเริ่มแปรสภาพกิจการรัฐไปเป็นของเอกชน ยกเว้น ธนาคาร ทำให้ผลลิตภาพทางเศรษฐกิจและการลงทุนเริ่มเพิ่มมากขึ้น แต่อาร์เจนตินายังต้องประสบปัญหากับวิกฤตค่าเงินเฟ้อที่ยังคงรุนแรง (hyperinflation)

image

นับตั้งแต่สังคมอาร์เจนตินากลับเข้าสู่พื้นที่ที่เป็นประชาธิปไตยในปี ค.ศ.1983 ทำให้ประเทศต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ วิกฤตเงินเฟ้อที่รุนแรงในปี ค.ศ.1989 และ ค.ศ.1990 จนมาถึงอีกทีหนึ่งในปี ค.ศ.2001 ที่ทั้งสองเหตุการณ์มีหนี้สาธารณะในระดับเท่ากันเหมือนเดิม เงินเฟ้อนั้นเกิดมาจาก "การพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ" (print money) ทำให้ประเทศต้องเผชิญหน้ากับการเสื่อมของค่าเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความไม่สมดุลของหนี้สาธารณะต่าง ๆ มันบานปลายมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์นาม เอสเตบาน โดมัค (Esteban Domecq) สรุปเอาไว้ว่าเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาเหมือน "วงจรอุบาทว์" ที่จะต้องเผชิญหน้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตามลำดับดังนี้ *(i).เมื่อเกิดวิกฤตก็ต้องมีความต้องการความช่วยเหลือทางสังคมเพิ่มขึ้น ทำให้รัฐบาลจะต้องเพิ่มรายจ่ายสาธารณะที่ส่งเสริมการขาดดุล (ii).การขาดดุลเป็นต้นเหตุปัญหาทางการเงินของภาครัฐทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นและค่าเงินเปโซ (peso) เกิดการเสื่อมค่าอันเป็นต้นเหตุของ "เงินเฟ้อครั้งใหญ่" ตลอดประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา และ (iii). วิกฤตเศรษฐกิจก็ได้เกิดขึ้นทำให้มีอัตราว่างงานและความยากจนอยู่ในระดับที่สูง แล้วจากนั้นทางแก้ปัญหาก็ต้องวนไปที่ข้อ (i) อีกครั้งอย่างไม่รู้จักจบ*

ส่วนสำคัญที่เกิดขึ้นของวิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนตินาอันเป็นต้นตอของวงจรอุบาทว์ก็คือ "การขาดดุลทางการคลัง" (fiscal deficit) เป็นการก่อหนี้สาธารณะเพื่อทำให้มีเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจำนวนมากที่นำไปสู่การเสื่อมสลายของสังคมและเศรษฐกิจ ตราบเท่าที่รัฐไม่คงสภาพทางการเงินให้สมดุลกันก็ไม่มีทางออกจากปัญหานี้ได้

สังคมอาร์เจนตินาในช่วงอดีตจนถึงปัจจุบันมีความโหยหาการออกจากวังวงปัญหาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ แต่เนื่องด้วยวงจรอุบาทว์นี้ยากที่จะแก้ไขทำให้กลุ่มการเมืองที่นิยมลัทธิเปรอน (Peronism) มีความนิยมในการเมืองระดับชาติของอาร์เจนตินามาโดยตลอด พวกเขายืนกรานที่จะสนับสนุนให้*รัฐแทรกแซงเศรษฐกิจ (state intervention) การพยายามขัดขวางการค้าเสรี (free trade) การสนับสนุนลัทธิการป้องกันการค้า (protectionism) ชาตินิยม (nationalism) การผดุงความยุติธรรมทางสังคม (social justice) การเพิ่มอัตราภาษีที่สูง (high taxes) และการให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้คน* นโยบายเหล่านี้เป็น "แกนความคิด" ที่ทำให้สังคมและประเทศใด ๆ ก็ตามไม่สามารถก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ ในแวดวงการเมืองของอาร์เจนตินาก็มีผู้สนับสนุนแนวคิดนี้อยู่ไม่น้อยเพราะแนวทางพรรคการเมืองของเปรอนนั้นมุ่งเน้นไปหาประชานิยมและภาพลักษณ์ของผู้นำทางการเมือง สิ่งเหล่านี้เป็นตัวชูโรงให้แนวคิดแบบผู้นิยมเปรอนยังคงอยู่มีความนิยมอยู่ได้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลบางช่วงของอาร์เจนตินาก็ไม่ใช่ลัทธิผู้นิยมเปรอน แต่ก็มีแนวคิด “การแทรกแซง” (interventionism) ที่ไม่สามารถสลัดให้ออกจากการเมืองได้ ซึ่งมันก็นำไปสู่ควาไม่มีสเถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ดี เมื่อมีคนบางส่วนของอาร์เจนตินาตระหนักได้ว่าทางออกของปัญหาของพรรคการเมืองที่ชู "ประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจ" ต้องให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวนั้นไม่ใช่ทางออกที่ยั้งยืนและแก้ไขปัญหาจริง ๆ อันเป็นเจตนารมณ์ของประชาชนชาวอาร์เจนตินาเป็นการปูทางให้ขบวนการอิสรนิยมในอาร์เจนตินาอย่าง ฮาเวียร์ มิเล (Javier Milei) ที่ต้องการ "ถอนรากถอนโคน" ของปัญหาที่เกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐบาลเอง มันไม่ได้เกิดจากทุนนิยมเป็นต้นเหตุแต่อย่างใดที่ฝ่ายซ้ายที่มองประเด็นนี้อย่างผิดฝาผิดตัวกล่าวหา

image

#siamstr

บรรณานุกรม

de Beaufort Wijnholds, J. Onno. "The Argentine Drama: A View from the IMF Board". The Crisis that Was Not Prevented: Lessons for Argentina, the IMF, and Globalisation. Fondad. p. 102.

Lacalle, Daniel. How Money Printing Destroyed Argentina and Can Destroy Others. Auburn, AL: Ludwig von Mises Institute, 2022.

Russo, Nicolas. Argentina: A Country Caught in an Endless Loop of Fin ancial Crises. Auburn, AL: Ludwig von Mises Institute, 2014.

Salerno, Joseph T. Myths and Lessons of the Argentine “Currency Crisis”. Auburn, AL: Ludwig von Mises Institute, 2014.

Salerno, Joseph T. Argentina Has a Chronic Problem with Monetary-Policy Failure. Auburn, AL: Ludwig von Mises Institute, 2018.

Veigel, Klaus Friedrich (2005). "The Great Unraveling: Argentina 1973–1991". Governed by Emergency: Economic Policy-making in Argentina, 1973–1991. Princeton University.


วิกฤตเศรษฐกิจเกิดจาก "การแก้ปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม" | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/BhJtitgj

เคยสงสัยไหมว่าทำไมพอมีปัญหาทางเศรษฐกิจแล้วจะมีคนบางกลุ่มออกมาบอกว่า "รัฐควรแก้ไขปัญหา..." อย่างนั้นอย่างนี้ หรือถ้าแก้แล้วยังมีปัญหาตามมาก็พยายามหาหลักการและเหตุผลมาสนับสนุนว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากรัฐ กล่าวคือ ปัญหาทุกอย่างในความคิดพวกเขาจะต้องแก้ด้วยรัฐเป็นสัดส่วนที่มากกว่าการปล่อยไปตามกลไกตลาดเสมอ พวกเขาเหล่านี้มีชุดความคิด (mindset) ที่ว่ารัฐควรเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างหนักแน่น จนไม่สามารถหาคำอธิบายได้ว่าแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นมาอีกนั้นมาจากไหน? มากไปกว่านั้นพวกเขาปฏิเสธความคิดที่ว่า "เศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องของมนุษย์" หากแต่เป็น "เครื่องจักรรถยนต์" การพิสูจน์ว่าพวกเขาเหล่านั้นมองเศรษฐกิจยังไงก็ต้องทบทวนถึงแนวคิดเรื่องนี้กันก่อน

image

เริ่มแรก "เศรษฐกิจเป็นเรื่องของมนุษย์" คือการมองมนุษย์บนฐานแบบ *Anthropomorphism *ซึ่งเชื่อว่าบุคลิกภาพ อารมณ์ เจตนา อะไรต่าง ๆ มันมี 'ความเป็นมนุษย์' ซึ่งแตกต่างและไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นมันจึงไม่มีรูปแบบแผนที่ตายตัวและคาดการณ์ได้ด้วยสูตรคำนวณที่แม่นยำ หรือ มีตัวแปรคงที่ จะตรงกันข้ามกับ “เศรษฐกิจเป็นเหมือนเครื่องยนต์” หรือ *mechanomorphism *เป็นการมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างหรือกับมนุษย์ที่ดำรงอยู่ในจักรวาลเปรียบเสมือนกับเครื่องจักรที่เราสามารถคาดการณ์ หรือ วัดได้ด้วยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) แต่ในความเป็นจริง ถ้ามนุษย์เราสามารถวัดหรือคาดการณ์ทุกอย่างที่แม่นยำได้เกี่ยวกับสังคมมนุษย์เราเอง ปัญหาทุกอย่างในสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้ก็เป็นเพียงเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เมื่อปัญหามันเกิดขึ้นเราก็สามารถหาแนวทางเชิงเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาให้มันบรรเทาหรือหมดไปได้

เมื่อรู้สูตรคำนวณและตัวแปรที่แม่นยำการคาดการณ์อนาคตก็ย่อมเป็นไปได้และหาทางหลีกเลี่ยงมันได้ แต่ทว่าในสังคมมนุษย์มันมีความซับซ้อนและไม่แน่นอน ซึ่งในความเป็นจริงสังคมมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ด้วยการคำนวณหรือประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นอกเหนือจาก "สัจพจน์" ที่ถูกค้นพบว่าเป็นจริงแท้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น กฎอุปสงค์-อุปทานตามหลักการ ceteris paribus (all other things being equal) เมื่อราคาสินค้าและบริการของ A เพิ่มขึ้นสูง อุปสงค์ที่จะต้องการสินค้าและบริการ A จะต้องลดลง และกฎทางเศรษฐศาสตร์อื่น ๆ ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สูญสลายสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมชาติของมนุษย์” ไป อย่างการก้าวข้ามความรู้สึกนึกคิดในแบบที่มนุษย์เป็นอยู่ในปัจจุบันอันมีลักษณะเฉพาะต่างกันไปแต่ละคน ทำให้บางครั้งการตั้งคำถามต่อธรรมชาติของมนุษย์ การตั้งคำถามกับกระบวนการตามธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์แบบ “มักจะ” นำไปสู่ข้อสรุปที่ปฏิเสธสิ่งที่เรียกว่า “ธรรมชาติ” แล้วโอบรับกลไกที่เชื่อว่าเป็น “ระบบ” ที่คาดการณ์ได้ว่ามนุษย์ดำเนินตามระบบแบบนั้นมากกว่าจะมีเจตจำนงที่ยากจะเหมือนกัน

image

การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นไปตามชุดความคิดที่กล่าวมาข้างต้น หากจะขยายความว่ามันคืออะไรกันแน่? ก็คงไม่พ้นการอธิบายด้วยการยกเหตุผลวิบัติหนึ่งที่เรียกพฤติกรรมจำเพาะเหล่านี้ว่า "Nirvana fallacy" คือ ความพยายามเปรียบเทียบความเป็นจริงกับเป้าหมายทางอุดมคติ ซึ่งแนวโน้มของความคิดของคนที่จะใช้ตรรกะวิบัติประเภทนี้เขามองว่ามันจะมี "perfect solution" ในปัญหาที่เฉพาะเจาะจง แต่ถ้าพิสูจน์แล้วว่ามันแก้ไขไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง พวกเขาก็จะหา perfect solution อย่างอื่นมาแก้ไขปัญหาต่อเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จักจบ สิ่งเหล่านี้กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศไทยและต่างประเทศที่เหล่าผู้มีอำนาจพยายามลองผิดลองถูก (trial and error) กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนผ่านนโยบายที่ทำร้ายประชาชนในประเทศอยู่เรื่อยไป คนเหล่านั้นพวกเขามักจะไม่เข้าใจวิถีชีวิตของคนและมีความคิดที่คับแคบ เป็นเหตุผลว่าทำไมเขามองว่าเศรษฐกิจเป็นเหมือนเครื่องจักรรถยนต์มากกว่าเป็นเรื่องของสิ่งมีชีวิต (มนุษย์)

image

ผู้ที่ยึดถือแนวทางเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) และผู้นับถือลัทธิอุดมการณ์ฝ่ายซ้ายล้วนมักจะใช้ "การแก้ปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม" มากกว่าหาทางเลือกอื่นที่เหมาะสมและเข้ากับความเป็นจริงซึ่งไม่ใช่ข้อเสนอเดิม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากประเทศ A มีปัญหาขาดแคลนสินค้า x รัฐบาลของประเทศ A มีนักการเมืองชื่อบี เสนอให้รัฐควบคุมราคาอันเนื่องมาจากสินค้าที่ขาดแคลนมีราคาแพงอยู่แล้ว มันอาจจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในประเทศ ผลที่ได้รับก็คือ สินค้า x ยิ่งจะขาดแคลนมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทันใดนั้นเองการควบคุมราคาก็ไม่อาจควบคุมได้อยู่อีกต่อไป นักการเมืองบีเลยเสนอมาตรการอื่น ๆ ที่ให้รัฐมีบทบาทไปซะเองโดยการให้รัฐบาลผลิตสินค้า x ขึ้นมาเองผ่านเงินภาษีไปจัดตั้งอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า x สิ่งที่อาจตามมาอีกก็คือ สินค้า x ที่ผลิตอาจแก้ไขความขาดแคลนได้ก็จริง แต่คุณภาพของสินค้าอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับเอกชนแข่งขันคุณภาพสินค้ากันเอง อาจทำให้เกิดตลาดมืดขึ้นมา หรือ ท้ายที่สุดรัฐเกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จนมีปัญหาด้านต้นทุนที่สูง ... ข้อสรุปก็คือ ยิ่งให้รัฐเข้ามายุ่งหรือแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ก็อาจเกิดปัญหาอื่นตามมา ข้อเสนอใดที่เมื่อให้รัฐเข้าไปยุ่งและยุ่งมากขึ้นล้วนเป็นการ "แก้ไขปัญหาด้วยการวนอยู่ที่เดิม" ไม่มีทางที่จะคิดถึงทางเลือกอื่น ตราบเท่าที่เขาเชื่อว่ารัฐคือ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ที่จะประทานให้กับเขา

ทางออกที่ง่ายที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ

  • การมองหาตัวเลือกที่ดีที่สุดและเป็นสิ่งที่ตามกลไกธรรมชาติ *

ในปัจจุบันรัฐบาลพยายามบิดเบือนกลไกธรรมชาติแล้วต้องการควบคุมมันให้อยู่กับมือ แต่ครั้งเมื่ออดีตรัฐคอมมิวนิสต์มันแสดงให้เห็นแล้วว่าการรวมศูนย์ทางเศรษฐกิจนั้นนอกเหนือจากจะเป็นไปไม่ได้ในทางทฤษฏีแล้ว ในความเป็นจริงก็ทำให้มีปัญหามากมายก่ายกองกว่าประเทศที่ใช้เศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทั้งคุณภาพชีวิตที่ต่ำกว่าและความอดอยากที่รุนแรงกว่า การบิดเบือนกลไกธรรมชาติจะต้องได้รับสิ่งตอบแทนที่แลกเปลี่ยนก็คือการเกิด "วิกฤต" หลายคนที่มีความคิดที่จะให้รัฐเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤต เพราะตลาดเสรีเป็นตัวนำไปสู่วิกฤตเอง ซึ่งตามเหตุผลนี้ทำให้พวกเขามักมองข้ามจุดเริ่มแรกไปว่าเศรษฐกิจไม่ใช่สิ่งที่สมบูรณ์แบบ มันล้วนมีจุดเติบโตและจุดถดถอยของมัน (เพราะมันคือ “ธรรมชาติ”) แต่สุดท้ายกลไกธรรมชาติของตลาดมันก็จะปรับตัวให้ดีขึ้นของตัวมันเองโดยไม่ต้องไปทำอะไร แต่พวกเขาดันคิดว่ากลไกธรรมชาติคือ "ปัญหา" ตั้งแต่แรกและควรกำกับควบคุมมันแทน ทว่าการควบคุมก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่จบสิ้น คำถามสุดท้ายในส่วนท้ายของบทความนี้ก็คือ “แล้วพวกเขาจะทำไปทำไม?” ในเมื่อทำไปแล้วมันมีปัญหาตามมา? คำตอบในมุมมองของผู้เขียนก็คือ พวกเขาไม่ได้เชื่อเรื่องเสรีภาพตั้งแต่แรก แม้ว่าพวกเขาทำไปแล้วอ้างเสรีภาพมันก็นำไปสู่ความย้อนแย้งที่ใช้สถาบันที่ผูกขาดความรุนแรงเหนือพื้นที่มากำกับหรือมองเสรีภาพให้คนอื่นได้อย่างปลอมเปลือก ไม่ใช่เสรีภาพแบบสิทธิ์ตามธรรมชาติที่มีอยู่ในมนุษย์แต่ละคนจริง ๆ

#siamstr . บรรณานุกรม

Thornton, Mark. The REAL Solution to the Coming Economic Crisis. Auburn, AL: Mises institute, 2022.


อย่า-เป็น-เช่น-เห็น แล้วผ่านไป #1 ความกลัว | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/U6zFRZxw

ความกลัว

image ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/chraecker-5555/?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=50267">Chräcker Heller</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th//?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=50267">Pixabay</a>

ความกลัวที่ไม่อาจข้ามผ่าน

หลายครั้งที่มนุษย์เรามักถูกหยุดยั้งด้วยความกลัว ความคิด หรือจินตภาพต่างๆ ที่ถูกเติมแต่งขึ้นมา มันทำให้ความกล้าหาญของเรา ถดถอยลง หรือบางครั้งมันอาจเหมือนถูกสะกดด้วยมนต์ที่สูงส่ง จนหลายๆคนครั่นคร้ามกับความกลัวเหล่านั้น

ทุกๆคนน่าจะรู้ตัวเองแล้วว่า เรากลัวอะไร แต่เคยถามตัวเองบ้างไหมว่า ตั้งแต่เมื่อเราเกิดมาแล้วจนถึงปัจจุบันนั้น เราเคยกลัวอะไรมากที่สุด และกลัวสิ่งเหล่านั้นมานานแค่ไหนแล้ว ความกลัวจากสิ่งต่างๆเหล่านั้น มันเพิ่มขึ้น หรือ ลดลง อย่างไร? ช่วงเวลาไหนที่เรามักจะกลัวอะไรเหล่านั้น? และเราจะมีอะไรที่เป็นเหมือนสัญญาณในการบ่งบอกว่าความกลัวเหล่านั้นมันกำลังเข้ามาหาเรา? ความผิดหวังเป็นความกลัวไหม ความเสียใจเศร้าโศกเป็นความกลัวหรือเปล่า หรือความคลาดเคลื่อนจากการนัดหมายเป็นความกลัวด้วยไหม เราให้น้ำหนักกับความกลัวสิ่งใดมากกว่ากัน เราจัดลำดับความรุนแรงจากผลที่อาจเกิดขึ้นจากความกลัวเหล่านั้นด้วยอะไร เคยคิดบ้างไหมว่า หากปราศจากความกลัวเหล่านั้นแล้ว เราจะดำรงชีวิตที่แตกต่างจากเดิมไปมากแค่ไหน อย่างไร?

เราจะใช้อะไรวัด หรือตวงความกลัวเหล่านั้น ออกมาเป็นระดับขีดความกลัวด้วยอะไร

หากเช้าวันหนึ่งเราลืมตาตื่นมาจากการหลับไหล แล้วพบว่าทุกสิ่งที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้มันเปลี่ยนไป ชุดที่เราใส่นอน เตียงที่เราเอนกายเมื่อยามค่ำคืน ห้องหับที่เราอาศัย เฟอร์นิเจอร์ต่างๆรอบตัว รวมไปถึงตัวเราที่ไม่ใช่คนเดิมจากเมื่อวานนี้ เราจะรู้สึกอย่างไร เราจะตกใจแค่ไหน เราจะควบคุมสถานการณ์ต่อจากนี้อย่างไร โดยส่วนมากที่ผู้คนส่วนใหญ่จะทำคือ สิ่งแรกที่เราลืมตาตื่นขึ้นมา คุณต้องสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทุกๆสิ่งรอบตัวก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นเมื่อคุณตั้งสติได้พอประมาณ คุณจึงจะย้อนกลับมาดูตัวเอง นั่นแหละ!! เราตระหนกกับสิ่งของรอบๆตัวก่อน เพราะอะไรกัน อาจจะเพราะสิ่งเหล่านั้นมันเกิดจากภาพซ้ำๆที่เรามองเห็นอยู่ในทุกๆวัน ใช่ไหม? เราเคยเห็นภาพที่คุ้นเคยจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราแบบใดแบบหนึ่งแล้วจดจำมันไว้ว่ามันคือความปกติ แล้วทำไมเราจึงย้อนมามองดูตัวเองภายหลังหล่ะ คำตอบง่ายๆ เพราะเราไม่ได้ตระหนักถึงตัวตนของเราเลยอย่างไรหล่ะ เราสังเกตจากสิ่งรอบตัวเป็นสำคัญ เราเอาชีวิตของเราเองวางไว้ที่ตรงนั้น เอาความสำคัญทั้งหมดวางไว้ตรงที่เราคิดว่ามันคือกึ่งกลางของแกนหลักในชีวิตเรา เราเอาชีวิตทั้งหมดของเราวางไว้ตรงที่เราอุปโลกน์ขึ้นมาว่ามันคือทุกสิ่งที่เราต้องดำเนินไปอย่างนั้น เราเอาแก่นของชีวิตเราไปผูกกับความเป็นไป อย่างที่มันควรจะเป็นในแบบที่เราคาดหวัง ในแบบที่เราคาดคิด ในแบบที่เราออกแบบเอาไว้ แล้วเราเอาความกลัววางไว้ตรงไหน?

image ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/redioactive-1711733/?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=2403050">REDioACTIVE</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th//?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=2403050">Pixabay</a>

การมองที่ตัวเองมันยากกว่าการส่องตัวเองในกระจก

สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมดีเสมอ มันคือคำพูดของคนบางคนที่มองว่าอะไรที่เกิดขึ้นมาแล้ว จนเกิดส่งผลอย่างใดอย่างหนึ่งที่อาจผิดไปจากที่เราคาดหวัง แต่เรายังยอมรับสิ่งเหล่านั้นได้ มันไม่แปลกเหรอ ที่เรายอมรับกับเรื่องอะไรแบบนั้น การคาดหวังอีกอย่างว่าสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาแล้ว เป็นอย่างที่เราต้องการเสมอ มันจะไม่ดีกว่าเหรอ เรากลัวว่าจะผิดหวัง จึงต้องยอมรับมันแบบนั้น หรือว่าเรา ยอมรับเรื่องที่มันเกิดขึ้นแบบนั้นได้จริงๆ หากเราคาดหวังว่าวันพรุ่งนี้เราจะต้องได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น แล้วผลออกมาว่าเรายังไม่ใช่คนนั้น มีอีกคนที่ขึ้นมาแทนที่เรา เรายอมรับสิ่งนั้นได้มากแค่ไหน คนอื่นๆจะมาซุบซิบนินทาว่าควรเป็นเรามากกว่าในตำแหน่งนั้นบ้างไหม เราคิดว่าเราจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือมีโอกาสในการพัฒนาสิ่งต่างๆให้เพิ่มพูนขึ้นได้ดีกว่านั้นบ้างไหม เราไม่เสียใจจริงๆเหรอ เราไม่ผิดหวังจริงๆเหรอ เราคิดว่ามันเกิดขึ้นแล้ว มันย่อมดีเสมอจริงๆเหรอ บางครั้งบางที การที่เรามองส่องในกระจกแล้วเห็นรอยสิวเราอาจจะคิดว่าแค่สิวเหล่านั้น เราอาจไปทำหัตถการบางอย่างให้มันเลือนหายไปได้ง่ายๆ แต่เราเคยคิดบ้างไหมว่า เวลาที่เราถ่ายรูปเก็บช่วงเวลาเหล่านั้นไว้ รอยสิวเหล่านั้น มันไม่ได้หายไปจากในอดีตเลย มีเพียงอนาคตที่อาจเปลี่ยนไป มีเพียงรูปถ่ายใบหลังจากนั้นเท่านั้น ที่เปลี่ยนไป เราอาจจะบอกว่าทุกสิ่งจากนี้มันไม่เหมือนเดิมแล้วนะ แต่อย่าลืมว่า ... อดีตมันเหมือนเดิมเสมออย่างไรหล่ะ

อยากกินของอร่อย แต่มันไม่มีประโยชน์ แต่มันก็อร่อยจริงๆนะ

image ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/gepharts3d-112682/?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=686984">gepharts3d</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th//?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=686984">Pixabay</a>

ป๊อก!! ซู่ว!! เสียงเปิดกระป๋องอะลูมิเนียมพร้อมเม็ดละอองน้ำจากในกระป๋องที่สาดกระเด็นออกมาโดนมือประปราย อันเกิดมาจากแรงดันบางส่วนถูกดันออกมาพร้อมกับของเหลวในภาชนะบรรจุเหล่านั้น ลองหลับตาแล้วนึกดูว่า หากไม่มีผลงานวิจัยออกมาบอกว่าน้ำตาลหากมากเกินไปก็เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ เราจะห้ามใจไม่ให้เปิดกระป๋องเหล่านั้นได้อย่างไร แล้วหากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่มีน้ำตาลแต่ยังคงความหวานคล้ายแบบเดิม เราจะกลับมาเปิดกระป๋องเหล่านั้นแล้วดื่มกินอย่างเอร็ดอร่อยอีกหรือไม่ แล้วหากผลงานวิจัยที่ออกมาล่าสุดบอกว่าสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิดส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์แล้วเราจะต้องกลับมาห้ามใจไม่เข้าใกล้เสียงซู่ซ่าเหล่านั้นได้อีกหรอ มนุษย์เราบางครั้งก็ทำตัวแปลกประหลาดกับความกลัว บางคนกลัวแต่ก็กล้าที่จะลองต่อต้าน บางคนกลัวจนวิตกกังวล บางคนกลัวแต่ก็อยากลอง บางคนก็ไม่กลัวเลยแม้จะรู้อะไรมาบางอย่าง

แต่บางคนไม่รู้ จึงไม่กลัว

ถ้าแบบนั้นก็ตอบคำถามสิ่งเหล่านี้ได้ง่ายๆ ถ้าไม่รู้ก็จะไม่เกิดความกลัว ใช่หรือไม่ ลองคิดดูว่ากว่ามนุษย์เราจะรู้ว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ อะไรที่กินได้แต่ต้องปรุงแบบไหน ทำอย่างไร มันมหัศจรรย์มากเลย ผมรู้สึกทึ่งมากกับคนที่ กิน อะไรต่างๆที่เห็นลงไป แล้วรอให้คนที่เหลือดูว่า รอดก็กินได้ ไม่รอดคือโอเคบาย!! คนคนนั้นเค้ามีความกลัวบ้างไหม เคยได้ยินมาก่อนไหมว่าใครกินอะไรมาแล้วมันเป็นแบบไหนบ้าง ผมรู้สึกตลกกับชีวิตที่เราเอาไปเสี่ยงกับอะไรแบบนั้นในยุคที่เรายังไม่ตกผลึกว่า อะไร เป็นอะไร จนกระทั่งปัจจุบัน เราก็ยังไม่ตกผลึกว่า เสียงป๊อก!! ซู่ว!! ในกระป๋องผลไม้ในน้ำเชื่อมบางยี่ห้อ มันอันตรายจากน้ำตาลในผลไม้ หรือน้ำเชื่อม หรือเพราะแก๊สที่อัดลงไป หรือเพราะกระป๋องที่บรรจุ หรือเพราะตัวเราเอง ที่บางครั้งต้องควบคุมอาหารเหล่านั้น หรืออาจจะเป็นเพราะใครสักคนที่อยากให้เราเป็นคนที่ไม่กลัวคนนั้น เพื่อที่จะได้จดบันทึกลงไปว่า อันนี้ไม่ควรกินหว่ะ!!

image ภาพโดย <a href="https://pixabay.com/th/users/jeniffertn-243408/?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=646201">Jeniffer, Wai Ting Tan</a> จาก <a href="https://pixabay.com/th//?utm_source=link-attribution&utm_medium=referral&utm_campaign=image&utm_content=646201">Pixabay</a>

. . .

บางครั้ง เมื่อเราวางอะไรบางอย่างลงไป มันก็อาจจะทำให้อะไรๆมันเบาขึ้น ความหนักที่เรากลัวอาจจะเป็นทองคำที่มีค่า หรืออาจจะเป็นเพียงก้อนหินที่ดูธรรมดา แต่หากเราวางมันลงไว้ก่อน แล้วคิดถึงสิ่งที่เราต้องการจริงๆ เราอาจจะรู้ว่า เราควรแบกสิ่งเหล่านั้นไว้ต่อไป หรือวางมันทิ้งไว้อย่างนั้นตลอดกาล เหมือนกับความกลัวในตอนนี้ ผมกลัวเหลือเกินว่า คนที่อ่านมาถึงตรงนี้ จะกลัวที่จะมองดูตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง ผ่านคนอื่น กลัวที่คุณ อาจจะเป็นคนอื่นที่มองดูใครสักคน แล้วกลัวว่าคนคนนั้น อาจจะเป็นคุณ 👀


ประชาธิปไตยอันสวยหรูร์ กับเทคนิคสูบทรัพยากรจากดาวเกาว์เซียน | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/GlVPIe-uj
nostr:naddr1qq2hxmt4w9t45nz8xeh8gurrt9zkzatsxdpyuq3qelf2jggd8tjmp0tdjt2pkfu23q4at4f65kmfj8p86z03gj5pkznqxpqqqp65wrs0kwt

บทแรก: ตัวเรา การเดินทาง และ Bitcoin | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/KCrhx3Zr
nostr:naddr1qqxnzd3ex56nyvekxqurjwpnqgs93adzxqyt5k58xzjrta50rrdqkyxw2wxxu2495xmczgrkxpx4nacrqsqqqa289ekvs3

โลกร้อน จริงหรือ ?? | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/drwElJpz

เมื่อนานมาแล้ว ท่ามกลางความมืดที่เย็นสนิท แรงโน้มถ่วงเริ่มดึงดูดกลุ่มแก๊สและละอองต่างๆมารวมกัน แรงมหาศาลที่ดึงดูดและกระทำกับกลุ่มมวลนั้นมหาศาล มวลต่างๆถูกดึงดูดให้บีบอัดเข้าหากัน จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มก้อนแก๊สร้อนเรืองแสง จนในที่สุดมันก็ร้อนมากพอที่จะสร้างพลังงานได้ด้วยตัวเอง ดาวฤกษ์หนึ่งเดียวที่ให้ความร้อนและแสงสว่าง ดวงอาทิตย์ของเรา

เมื่อมองเข้าไปใต้พลาสมาที่ร้อนระอุ ลึกลงไปข้างในที่แกนกลางของดวงอาทิตย์ส่วนที่ร้อนที่สุด อะตอมที่กำลังชนกันที่อัตราความเร็วสูงและถูกหลอมรวมกัน ได้ปลดปล่อยพลังงานที่บริสุทธิ์ กระบวนการนี้เรียกว่า นิวเคลียร์ฟิวชั่น

ในแกนกลางของดวงอาทิตย์ ขณะที่อะตอมกำลังพุ่งชนและหลอมรวมกัน โฟตอนได้ถูกปลดปล่อยออกมา และพยายามที่จะไหลออกมาสู่ภายนอก พลังงานเล็กๆที่ไร้มวลบางส่วนนั้นสามารถหลุดรอดผ่านชั้นต่างๆภายในของดวงอาทิตย์ พุ่งตรงออกมาจากแกนกลางของดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วแสง มันแผ่รัศมีออกไปทุกทิศทาง บางส่วนได้เดินทางผ่านระยะทาง 150ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 8นาทีกว่าๆ พุ่งตรงมายังโลกของเรา

ในทุกๆวินาที ใบไม้แต่ละใบจะดูดซับโฟตอนจำนวนมหาศาล กรานาได้รับแสงอุ่นๆจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวที่ปกคลุมไปด้วยโปรตีนที่ทำหน้าที่คอยดักจับโฟตอนที่มาจากดวงอาทิตย์ ในนั้นอัดแน่นไปด้วยสารสีเขียวอย่างคลอโรฟิลล์ที่สามารถดูดซับแสงแดด

คลอโรฟิลล์ดักจับพลังงานที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ เมื่อน้ำรวมกับคาร์บอนไดออกไซด์และแสงแดด กระบวนการนี้ถูกเรียกว่า การสังเคราะห์แสง ได้เปลี่ยนรูปของพลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งผลผลิตที่ได้นั้น คือน้ำตาลและออกซิเจน กลายที่เป็นกักเก็บพลังงานใหม่ไว้ส่งต่อให้กับสิ่งมีชีวิตบนโลก

น้ำตาล เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์อื่นๆ ที่ทำให้พืชเจริญเติบโต เช่น แป้ง เซลลูโลส โปรตีนหรือไขมัน

ออกซิเจน เป็นธาตุที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตที่ต้องใช้ในการหายใจและเผาผลาญพลังงาน

พลังงานนั้น ไม่ได้ถูกทำให้เพิ่มขึ้นหรือหายไป พลังงานเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในจักรวาลของเรานี้ มันแค่หมุนเวียน เปลี่ยนรูปจากพลังงานรูปแบบหนึ่งไปสู่พลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง

การโฆษณาชวนเชื่อว่า การอุปโภคบริโภคที่มากของมนุษย์นั้น เป็นเรื่องเลวร้าย ไม่ว่าการรณรงค์ให้ประหยัดน้ำมัน ลดการใช้พลังงาน ลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เพราะยิ่งกินเนื้อสัตว์ยิ่งทำให้โลกร้อน !!

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แนะนำให้พลเมืองหันมาบริโภคพืชผัก เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน ใช่ พวกเขากำลังบอกให้พวกเรา ฆ่าพืช เพื่อนำมาบริโภค พวกเขาบอกว่ามันจะช่วยลดโลกร้อน พวกเขายังอ้างอีกว่าการทำปศุสัตว์นั้น ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในดินถูกปล่อยออกมาและเกิดก๊าซเรือนกระจก 555 (ขออภัยที่อดขำไม่ได้จริงๆ)

พืชซึ่งกำลังทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ พืชที่ทำหน้าที่ส่งต่อพลังงานไปยังเหล่าสรรพสัตว์ กำลังถูกคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งตัวพวกเขาเองนั้นก็ต้องใช้พลังงาน และอุปโภคบริโภคไม่ได้ต่างไปจากพวกเรา พวกเขากำลังบอกให้ผู้คนหันไปกินพืชกันมากขึ้นและลดการกินเนื้อ พืชที่เป็นแหล่งพลังงานของเหล่าสัตว์ พวกเขากำลังบอกให้พวกเรากินพืชแทนที่จะกินสัตว์

พวกเขายังแนะนำการบริโภคแบบมังสวิรัติที่ประกอบไปด้วย ผัก ผลไม้ ธัญพืช(เมล็ด) ถั่วต่างๆ

กรดอะมิโนชนิดจำเป็น ที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตเองได้นั้น เราสามารถได้รับโดยตรงจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ผู้ที่ทานแต่ผักมักจะขาดสารอาหารบางชนิด อีกทั้งอุตสาหกรรมการเกษตรมักอุดมไปด้วยยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆ นี่คือเหตุผลที่ มนุษย์ควรระมัดระวังในการบริโภค และต้องบริโภคทั้งพืชและสัตว์อย่างสมดุล

ถ้ามองในอีกแง่ ผู้เขียนมองว่า พวกเขาเองนั่นแหละที่กำลังทำให้โลกร้อน ถ้าพวกเขาจะกล่าวหาว่า คาร์บอนไดออกไซด์ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

เพราะพวกเขากำลังบอกให้พวกเราทำลายพืช กินพืชให้มากขึ้น พวกเขากำลังบอกให้มนุษย์บริโภคพืชแทนเนื้อสัตว์ เขากำลังบอกให้เราแย่งอาหารจากบรรดาเหล่าสัตว์

เมล็ดพืชที่ปกติแล้วจะต้องทำหน้าที่ในการแพร่พันธุ์ จะแพร่พันธุ์ต่อได้อย่างไร ถ้ามนุษย์เก็บมากินไปซะหมด ต้นไม้จะเอาใบไม้ที่ไหนมาสังเคราะห์แสง หากมนุษย์กินพืชแทนเนื้อกันทุกคน

ความจริงแล้ว ผู้คนมีสิทธิ์อุปโภคบริโภคเท่าไรก็ได้ ตราบใดที่พวกเขาหาทรัพยากรนั้นมาด้วยตัวเอง

การพยายามสร้างความเชื่อลวงโลกว่า โลกของเรานี้กำลังร้อนขึ้นๆ พวกเขาพยายามโน้มน้าวว่า การลดใช้พลังงาน การลดการบริโภคเนื้อสัตว์นั้น เป็นการกระทำความดี เพราะกำลังช่วยลดโลกร้อนอยู่ สิ่งนี้เป็นเพียงแค่การหลอกให้ผู้คนเชื่อว่า สิ่งๆนั้นไม่มีคุณค่า สิ่งๆนั้นเป็นสิ่งเลวร้าย สิ่งๆนั้นเป็นการไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม เพราะมันเป็นการง่ายที่สุดที่ผู้คนจะไม่ออกมาต่อต้าน และไม่ถามว่าทำไม ผู้คนเข้าใจว่าพวกเขากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง พวกเขาคิดว่าพวกเขากำลังปกป้องโลกใบนี้ ซึ่งมันไม่จริง

ทุกวันนี้ผู้คน ผลิตสิ่งต่างๆที่ได้มาจากทรัพยากรมากกว่าที่พวกเขาได้ใช้ไป ผู้คนหลายล้านคนบนโลกกำลังทำงานหนัก แต่กลับได้บริโภคสิ่งต่างๆเพียงน้อยนิดและบางสิ่งไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมที่มนุษย์จะบริโภค ในขณะที่คนบางกลุ่มกลับสามารถบริโภคสิ่งต่างๆได้อย่างล้นเหลือ

ความจริงแล้ว พวกเขาแค่ต้องการให้เราทิ้งสิ่งที่มีค่าไปด้วยตัวเอง เลิกอุปโภคบริโภคโดยสมัครใจ เพื่อที่พวกเขาจะนำทรัพยากรเหล่านั้นไปใช้ได้โดยง่าย แบบไร้การขัดขืน ไร้ข้อกังขา พวกเขาต้องการลดส่วนแบ่ง เพื่อที่ตัวเองจะได้ใช้มากขึ้นต่างหาก พวกเขาแย่งชิงมันอย่างไร ผู้อ่านก็คงจะทราบกันดีในวิธีการแย่งชิงทรัพยากร

พลังงานนั้นมีอยู่แล้วและจะไม่หายไป โลกได้รับพลังงานมาจากดวงอาทิตย์ อะตอมที่ถูกหลอมรวมกันและกลายเป็นหนึ่งได้ปลดปล่อยโฟตอน โฟตอนถูกส่งมาจากดวงอาทิตย์โดยกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่น ต้นไม้ดูดซับพลังงานนั้นไว้และส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะ มนุษย์ พืชหรือสัตว์ เพียงแค่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นมาใช้ มนุษย์เราก็เป็นแค่เพียงสิ่งหนึ่งในกระบวนการการเปลี่ยนรูปพลังงานเท่านั้น ผู้คนไม่ได้กำลังทำเรื่องเลวร้ายหรือเรื่องที่ดี สิ่งนี้มันเป็นเพียงธรรมชาติ ผู้ที่พยายามบิดเบือนความจริงเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองต่างหาก ที่เลวร้ายอย่างแท้จริง แต่มันก็คงเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอีกเช่นกัน


ค่านิยมอาหาร 3 มื้อ และจากซีเรียล ถึง "อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด" | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/9QQ-QDIf

image

ทำไมต้องกินอาหาร 3 มื้อ? มันมาจากไหน

การกินอาหารตามเวลา เริ่มต้นในยุคอุตสาหกรรม ช่วงศตวรรษที่ 18-19 ก่อนหน้านั้นผู้คนยังนิยมทานอาหาร 1-2 มื้อต่อวัน หิวเมื่อไหร่ค่อยกิน ไม่หิวก็ไม่กิน

มื้อเช้า เป็นมื้อแรกที่ผู้คนจะกินก่อนออกจากบ้านมาทำงาน ส่วนมื้ออื่นๆ ก็ว่ากันไปตามแต่ว่าใครกินมามาก มาน้อย จะหิวตอนไหน

*สิ่งนี้มันเป็นปัญหากับโรงงาน เพราะคนงานพักไม่พร้อมกัน * ทำให้เกิดการกำหนดเวลาในการกินอาหารขึ้นมาเป็น มื้อเช้า กลางวัน และเย็น เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานมากขึ้น และในยุคนั้น มื้อเช้ายังคงเป็นอาหารทั่วๆไปเหมือนมื้ออื่นๆ สเต็ก ไข่ ขนมปัง


"อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด"

จุดกำเนิดของเรื่องนี้ พอรู้แล้วก็ตลกดี เพราะมันมาจากแคมเปญโฆษณาเพิ่มยอดขายซีเรียล ของบริษัท General Foods ที่โปรโมทลงบนแผ่นพับในร้านค้า และ วิทยุ ในปี 1944 ด้วยข้อความว่า

"Nutrition experts say breakfast is the most important meal of the day."

ซึ่งมันตัดมาแค่เพียงบางส่วนของข้อความที่ Dr.John Harvey Kellogg ผู้คิดค้น Corn flakes และผู้ร่วมก่อนตั้ง Kellogg's เขียนขึ้น

แล้ว Dr.John Harvey Kellogg เกี่ยวอะไร

Dr.John Harvey Kellogg คิดค้น Corn flakes ขึ้นมาเมื่อปี 1890s เพื่อให้คนอเมริกาทานอาหารที่ดีขึ้น ตอนนั้นคนอเมริกามีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหาร เพราะกินแต่เนื้อ และเขายังมีความเชื่อว่าเนื้อสัตว์เป็นต้นเหตุที่ทำให้คนช่วยตัวเอง และ เขาไม่อยากให้ใครช่วยตัวเอง

Dr.John Harvey Kellogg เป็นวีแกนและเคร่งศาสนา

ในปี 1900 W.K. Kellogg และ Dr. John H. Kellogg 2 พี่น้องได้ก่อตั้งบริษัทผลิตซีเรียลชื่อดัง Kellogg’s

ต่อมาในปี 1910 Kellogg ได้ก่อตั้งองค์กรอาหารเช้าแห่งชาติ (National Breakfast Association) เพื่อรณรงค์ให้เด็กนักเรียนรับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน องค์กรแห่งนี้ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการรับประทานอาหารเช้าและได้จัดตั้งโครงการอาหารเช้าฟรีสำหรับเด็กนักเรียนที่ยากจน

ในที่สุดความสำเร็จก็บังเกิดผล ปี 1920-1930 รัฐบาลสหรัฐฯ มีการรณรงค์ให้เด็กๆรับประทานมื้อเช้าก่อนไปโรงเรียน เพื่อจะได้มีสมาธิจดจ่อกับการเรียนมากกว่าความหิว ส่งผลให้ความความเชื่อและวิถีชีวิตนี้ถูกส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน

image


แล้วจะมีอาหารเช้าไหนง่ายและสะดวกไปกว่า ซีเรียลและนม อีกล่ะ?

อาหารเช้ามันเป็นมื้ออาหารที่เต็มไปด้วยกิจกรรมรบกวนมากมาย มันมีความยุ่งยากมากกว่าม้ืออื่นๆ

ยิ่งมีการผลักดันจากรัฐบาลในการรณรงค์ให้เด็กๆรับประทานมื้อเช้า ในยุคที่ทั้งพ่อและแม่ ต่างต้องออกไปทำงานนอกบ้าน การเตรียมอาหารสำหรับมื้อเช้า กลายเป็นเรื่องว้าวุ่น

ในที่สุด อุตสาหกรรมอาหารเช้าก็ถึงพีค เริ่มมีการพัฒนาและปรับปรุงสูตรให้ทานง่าย ด้วยการเคลือบน้ำตาล มีการโฆษณาโปรโมทสินค้าด้วยตัวการ์ตูนเพื่อให้เข้าถึงเด็กๆ จนนำมาสู่แคมเปญโฆษณาสุดปัง ที่มาช่วยพลิกโฉมอาหารเช้าไปตลอดกาล

อีกความจริงนึง ที่ทำให้บริษัทพยายามเป็นเจ้าของตลาดมื้ออาหารมื้อนี้ คือ

หากคุณสามารถยึดมื้อเช้าของใครมาได้ คุณจะได้มันไปตลอดกาล

image


ที่มา: - How Breakfast Became a Thing https://priceonomics.com/how-breakfast-became-a-thing/


เหล่าอีลีทได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้ออย่างไร? | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/kfwlaFY9
nostr:naddr1qq2564jedeh4qjjgtfu4v6zfxe4hsnnrv4z97q3qpcrwas9n9uwmzqcsqh0alselauulx0vkdwzns3jv5wwcwvsjlvtsxpqqqp65w9mgwtt

การแย่งชิงทรัพยากร | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/Au2bAW7M

โดยธรรมชาติแล้ว เพื่อมีชีวิตรอดบนโลกใบนี้ มนุษย์นั้นจะต้องออกล่า หาอาหาร ค้นหาสถานที่ที่เหมาะสมที่จะอยู่อาศัย และออกเดินทางเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ เพื่อที่จะไขข้อสงสัยบางสิ่งในชีวิตที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเพราะนั่นคือ “ชีวิต” ชีวิตไม่ใช่แค่เพียง มีอยู่ กิน นอน และรอวันตาย

เพื่อความมีชีวิต เพื่อความอยู่รอด การรวมกลุ่มจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่าการอยู่เพียงลำพัง

เมื่อโลกได้พัฒนามาถึงจุดหนึ่ง จุดด้อยต่อๆไป ก็จะเกิดการพัฒนาตามมา เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความแตกต่างของกลุ่มมนุษย์ ด้วยสภาพแวดล้อม ด้วยความสามารถของกลุ่ม ด้วยความสามารถในการส่งต่อข้อมูลความรู้ และการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ทำให้มนุษย์ยิ่งมีความห่าง ความแตกต่างกันออกไปอีก

แม้จะมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน แต่มีสิ่งหนึ่งที่มนุษย์นั้นมีแทบจะเท่าๆกันแน่นอน นั่นคือ “เวลา”

ดังนั้นถ้ามองในอีกแง่ การแย่งชิงทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรในรูปแบบใดก็ตาม มันคือการ แย่งชิงเวลานั่นเอง ผู้ที่แย่งชิงทรัพยากรมาได้ ก็เหมือนการขโมยเวลาของผู้อื่นมา เพื่อนำมาใช้เป็นประโยชน์ให้กับตัวเอง เมื่อไม่ต้องเสียเวลาของตัวเองไปเพื่อความอยู่รอด ทำให้ผู้ชนะสามารถใช้เวลาที่มีอยู่จริงๆของตนเองไปเพื่อความรื่นรมย์ส่วนตัวได้อย่างสบาย แล้วใครจะไม่อยากได้เวลาเพิ่มล่ะ

ด้วยเหตุผลนี้ในหน้าประวัติศาสตร์เท่าที่เรารู้จัก จึงมีสงครามเกิดขึ้นมาโดยตลอด

การก่อสงครามแบบตรงๆนั้น ถึงแม้ผู้ที่แข็งแกร่งกว่าจะมีแนวโน้มว่าจะชนะแน่นอน แต่ก็ย่อมต้องแลกมาด้วยอะไรบางอย่างอยู่ดี ฝ่ายที่รู้อยู่แก่ใจว่าด้อยกว่า ก็อาจจะยอมจำนน หรือไม่… ก็อาจจะสู้อย่างสุดกำลังเพราะความจนตรอก ผู้ชนะแม้อาจจะชนะ แต่ก็อาจจะไม่เหลืออะไรให้ครอบครองหรือแย่งชิงได้อย่างคุ้มค่าพอกับที่ได้ก่อสงครามไป ซึ่งนั่นไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของผู้ชนะ เพราะเหตุผลที่ก่อสงครามนั้น ได้พังทลายลงไปพร้อมกับชัยชนะไปซะแล้ว ไม่เหลืออะไรให้แย่งมา… สงครามครั้งแล้วครั้งเล่าทำให้มนุษย์เรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการในการแย่งชิงทรัพยากรให้ต่างออกไปจากเดิม

และครั้งนี้ก็เช่นกัน จุดประสงค์ที่แท้จริงมันคือการแย่งชิงเวลา แต่วิธีการนั้นต่างออกไป…

การแย่งชิงเกิดขึ้นในรูปแบบที่ไม่ต้องก่อสงครามตรงๆ และผู้ที่ถูกขโมยนั้นไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังถูกขโมยอะไรไป

วิธีการแย่งชิงแบบใหม่นี้ มีระบบการเงินแบบเฟียตเป็นเครื่องมือ

  • วิธีการแย่งชิง -

เมื่ออารยธรรมมนุษย์เริ่มพัฒนามากมายทั่วโลก ทรัพยากรถูกผลิตขึ้นมามากมายจนเหลือใช้ มนุษย์พัฒนาทักษะในหลายๆด้าน สามารถเก็บบันทึกองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้มนุษย์รุ่นหลังสามารถเรียนรู้สิ่งที่มีผู้ค้นพบแล้วได้จากบันทึกต่างๆ มนุษย์เริ่มใช้เงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร และในอดีตสิ่งที่ถูกยอมรับให้ทำหน้าที่เป็นเงินโดยเห็นพ้องต้องกันทั้งโลก นั้นคือ ทองคำ

ด้วยคุณสมบัติของความยากในการได้มาของทองคำ ความเสถียรของธาตุทางเคมีและกายภาพ ทำให้ทองคำนั้นไม่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ทำให้ทองคำนั้นสามารถถูกส่งต่อผ่านกาลเวลาได้ ทองคำจึงเป็นเงินที่ยอดเยี่ยมมาโดยตลอด อย่างที่พวกเราต่างรู้กันดีว่า ทองคำมีค่าเพราะอะไร (ไม่ใช่มีค่าในตัวเองอย่างที่คนทั่วไปชอบพูดกัน)

แต่ทองคำเองก็ยังมีข้อเสียอยู่หลายประการ หนึ่งในนั้นคือ การขนย้าย เมื่อโลกเกิดการแลกเปลี่ยนทรัพยากรมากขึ้น การส่งทองคำไปมานั้นยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายมากมาย ทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกปล้น หรือการเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดจากภัยธรรมชาติ

มนุษย์ที่เห็นช่องทางในการหาประโยชน์จากข้อเสียนี้ของทองคำ ระบบมาตรฐานทองคำได้ถูกยกเลิก และเป็นจุดกำเนิดของระบบเบรตตัน วูดส์ โดยการผูกค่าทองคำไว้กับ “ดอลลาร์สหรัฐ” พวกเขาสัญญาว่าคุณจะได้รับทองคำที่คุณฝากไว้คืนเสมอ เมื่อคุณยื่นตั๋วแลกทองคำนี้ ในยุคแรกที่ผู้คนได้ทดลองใช้ดอลลาร์ และพบว่าพวกเขาสามารถนำมันไปแลกทองคำคืนได้จริงๆ ดอลลาร์จึงเริ่มถูกใช้งานแทนทองคำ และยอมรับเป็นที่แพร่หลาย (ดั่งที่ชาวบิทคอยเนอร์ทราบกันดีอยู่แล้ว)

ช่วงเวลาหนึ่ง ผู้คนคิดว่า ดอลลาร์นั้นจะมีจำนวนเท่ากับทองคำที่มีอยู่จริงๆ

เมื่อทองคำส่วนมากถูกฝากไว้ในมือของมนุษย์กลุ่มหนึ่ง ความเชื่อใจก็เป็นสิ่งที่เหนือเกินกว่าที่มนุษย์จะจินตนาการได้ เมื่อมาตรฐานทองคำนั้นถูกยกเลิก และต่อมาระบบเบรตตัน วูดส์ ก็พังลง หลังจากเกิดเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากการพิมพ์ดอลลาร์อย่างมหาศาลเพื่อชดเชยการขาดดุลหลังจากการทำสงคราม จนเข้าสู่ยุคระบบการเงินเฟียต ในยุคของคนรุ่นหลัง มนุษย์รุ่นที่ไม่เคยสัมผัสกับการใช้ทองคำในการเป็นเงิน ไม่รู้ที่มาของการเป็นเงิน ไม่รู้ว่าเงินที่แท้จริงนั้นคืออะไร ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วทองคำนั้นมีค่าเพราะอะไร จะเห็นได้ว่าคนส่วนมากมักจะบอกว่า ทองคำนั้นมีค่าในตัวมันเอง ซึ่งนั่นไม่ใช่ความจริง

ผู้คนในรุ่นหลังนั้น ต่างใช้กระดาษที่รัฐบาลของตนพิมพ์ออกมาเป็นเงิน นั่นเพราะรัฐบาลของพวกเขากำหนดให้มันเป็นเงิน มันทำหน้าที่คล้ายๆกับคูปองในโรงอาหารของโรงเรียน ใช้ซื้อของได้แค่ในโรงอาหารเท่านั้น กระดาษของรัฐบาลก็เช่นกัน มันคือคูปองไว้แลกทรัพยากรในประเทศ หากคุณเดินทางไปประเทศอื่น คุณก็ต้องแลกคูปองของประเทศนั้นๆ ไว้เพื่อใช้แลกทรัพยากรของประเทศนั้นๆ เช่นกัน

ในขณะที่คนบางกลุ่มนั้น กลับมีทรัพยากรในด้านต่างๆนำหน้าคนส่วนใหญ่ไปมาก ร่ำรวยทรัพยากร ก็เหมือนร่ำรวยเวลา ไม่ต้องเสียเวลาไปเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่คนส่วนใหญ่ทำงานแทบเป็นแทบตายเพื่ออาหารที่ไร้คุณภาพไม่กี่มื้อ ไม่มีกระทั่งเวลาที่จะอยู่กับครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพ บางคนไม่เหลือแม้กระทั่งทรัพยากรที่บรรพบุรุษได้เคยสะสมไว้ให้

พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร แม้กระทั่งสิ่งที่พวกเขาได้เคยเรียนรู้และถูกสอน การศึกษาที่ได้รับจากโรงเรียน ก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกเขียนไว้เพื่อให้เชื่อ

มีภาพลวงตาเกิดขึ้นมากมาย จนยากเกินกว่าจะแยกออกว่าอะไรคือความจริง พวกเขาไม่เคยรู้เลยว่า ทำไมพวกเขาถึงทำงานเท่าไหร่ก็ไม่พอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระ และคนบางกลุ่มก็ยังคิดว่าที่เขาเป็นอยู่นั้นดีอยู่แล้ว นั่นเพราะพวกเขาไม่เคยสัมผัสกับอิสรภาพมาก่อน พวกเขาจึงไม่เคยรู้จักมัน

ผู้คนสนใจแค่ว่า วันนี้หรือเดือนนี้จะหาเงินได้เท่าไหร่ จะเพียงพอใช้จ่ายเป็นค่าอะไรได้บ้าง รู้เพียงแค่ว่าเงินกระดาษที่ได้มานั้นมีค่า มีค่าเพราะมันใช้แลกอาหารและสิ่งต่างๆได้ พวกเขาได้ใช้เวลาอันมีค่าไปกับระบบที่ทุกคนต่างก็ทำเหมือนๆกัน ผู้คนต่างทำตามๆกัน จนกระทั่งสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นมาตรฐานใหม่ แม้คนบางส่วนก็อาจจะสงสัยแต่ไม่มีเวลามากพอมาตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ พวกเขาไม่ผิดที่ไม่รู้ ปลาที่โตมาในตู้ไม่รู้ว่ามหาสมุทรนั้นกว้างแค่ไหน นกที่ไม่เคยออกจากกรงไม่รู้ว่าท้องฟ้านั้นคืออะไร นกจะรู้ได้อย่างไรว่าจริงๆแล้วตัวเองก็บินได้เช่นกัน

กลุ่มคนที่แย่งชิงเวลาของผู้คนไปได้ในช่วงแรกเริ่ม ทำให้ทรัพยากรและเวลาของพวกเขานั้น นำหน้าผู้คนส่วนใหญ่ไปมหาศาล พวกเขาสามารถใช้ชีวิตได้ดั่งเสือนอนกิน ไม่ต้องสร้างประโยชน์ใดๆเหมือนคนอื่นๆ ทรัพย์สินก็เพิ่มพูนขึ้นได้เรื่อยๆ เมื่ออยู่ในระบบเฟียต

กลุ่มคนร่ำรวยอำนาจและทรัพยากรเหล่านี้ กระจายอยู่ในทั่วทุกมุมโลก มีพวกเขาอยู่ในทุกประเทศ เราเรียกว่าพวกเขาว่า อีลีท(Elite)

คนบางกลุ่มอาจจะรู้สึกชิงชังกลุ่มอีลีทเหล่านี้ แต่ถ้ามองกันในแง่ความเป็นจริง มันก็คือการคัดสรรทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ผู้ที่แข็งแรงกว่า รู้มากกว่า รู้เร็วกว่า ย่อมเหนือกว่า

วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะแย่งชิงทรัพยากร คือการแย่งชิงมาโดยที่เจ้าของทรัพยากรนั้น ไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกแย่งอยู่

แม้กระทั่งคนกลุ่มที่ดูเหมือนไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย พวกเขาก็ยังมีทรัพยากรที่มีค่าอยู่ นั่นก็คือเวลา

พวกเขายังต้องดำรงชีวิต สิ่งที่พวกเขาทำได้ คือนำเวลาของพวกเขาไปแลกเงินกระดาษเพื่อยังชีพ

เงินกระดาษของรัฐบาลต่างๆ ถูก(ทำให้จำเป็นต้อง)ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้ดำรงชีวิต ผู้คนต้องใช้มันเพื่อนำไปแลกปัจจัยสี่ เงินกระดาษเหล่านั้นถูกผลิตและมีที่มาโดยกลุ่มอีลีท แน่นอนว่าพวกเขาสามารถควบคุมเงิน

เงินที่กลุ่มอีลีทสามารถเสกขึ้นได้จากอากาศผ่านระบบเฟียต ถูกนำมาใช้จ่ายให้กับผู้คน เพื่อให้ผู้คนทำงาน ในขณะที่เงินกระดาษนั้นถูกสร้างขึ้นมาโดยง่าย แต่เวลายังคงมีเท่าเดิม ทรัพยากรยังคงมีอยู่อย่างจำกัด การจะได้มาซึ่งทรัพยากรนั้น ต้องใช้ทั้งพลังงานและเวลา

กลุ่มอีลีทพิมพ์เงิน ในขณะที่ผู้คนนั้นทำงาน เงินกระดาษที่มีมากมายในระบบมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เงินที่ถูกพิมพ์เพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มแล้วเพิ่มเลยไม่ลดลง มันเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะกระตุ้นให้ผู้คนทำงาน ถ้าเงินหมดก็แค่พิมพ์ไปจ่าย ผู้คนก็จะลุกขึ้นมาทำงาน พวกเขาจำเป็นต้องทำงาน

  • คณิตศาสตร์อย่างง่าย -

ในขณะที่ทรัพยากรและเวลานั้นมีจำกัด แต่จำนวนเงินกระดาษกลับเพิ่มขึ้นได้ตลอดเวลา นี่คือสิ่งที่ทำให้ทรัพยากรมีมูลค่าสูงขึ้นตลอดกาลเมื่อเทียบกับเงินกระดาษ (เงินเฟ้อ)

มูลค่าทรัพยากร = จำนวนเงิน/จำนวนทรัพยากร ของ 10ชิ้น มีเงินในระบบ 10฿ , ของ1ชิ้น = 1฿ ของ 10ชิ้น มีเงินในระบบ 100฿ , ของ1ชิ้น = 10฿ - เมื่อจำนวนเงินในระบบเพิ่มขึ้น ⬆️ - มูลค่าของทรัพยากรจึงสูงขึ้น ⬆️

มูลค่าของเงิน = จำนวนทรัพยากร/จำนวนเงิน ของ 10ชิ้น มีเงินในระบบ 10฿ , เงิน1฿ = ของ1ชิ้น ของ 10ชิ้น มีเงินในระบบ 100฿ , เงิน1฿ = ของ0.1ชิ้น - เมื่อจำนวนเงินในระบบเพิ่มขึ้น ⬆️ - มูลค่าของเงินจึงลดลง ⬇️

จำนวนเงินกระดาษที่ถูกพิมพ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนั้น ทำให้ทรัพยากรที่มีจำกัด มีราคาที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินกระดาษ (ของแพงขึ้น) ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมูลค่าของเงินกระดาษต่างหากที่มีค่าลดลง

นี่แหละ คือการปล้นทรัพยากร ผ่านระบบเฟียต เพราะความสามารถในการเพิ่มเงินในระบบได้เรื่อยๆ ทำให้ทรัพยากรต่างๆแพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงิน ซึ่งจริงๆแล้วมันคือการหลอกใช้ผู้คนให้ทำงานเท่าเดิม แต่กลับได้รับค่าจ้างที่ลดลงเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว หรือทำงานหนักขึ้นแต่ได้รับค่าจ้างเท่าเดิม หรืออาจจะน้อยลงด้วยซ้ำ

มันไม่ได้สำคัญที่ตัวเลขบนเงินกระดาษ แต่มันคือมูลค่าของเงินในการนำไปแลกทรัพยากร มูลค่าที่ลดลงเรื่อยๆตลอดกาล ทำให้เงินจำนวนเท่าเดิมกลับสามารถแลกทรัพยากรได้น้อยลง ซึ่งสิ่งที่มีค่าจริงๆนั้นไม่ใช่เงินแต่มันคือทรัพยากร

นี่ไม่ใช่วิธีการที่แปลกใหม่ หรือพึ่งมีใครคิดค้นวิธีการปล้นอย่างแนบเนียนแบบนี้ขึ้นมา แต่มันคือเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วและกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน

การปล้นอย่างแนบเนียนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับคนไทย หรือคนกลุ่มใด แต่เกิดขึ้นกับผู้คนทั้งโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้คนที่ยังไม่เข้าใจว่า เงินคืออะไร

การแย่งชิงทรัพยากรอย่างแนบเนียน ไม่ใช่แค่การขโมยเอาทรัพย์สินต่างๆของผู้คน แต่ยังหมายถึงการขโมยทรัพยากรเวลา การที่ผู้คนต้องทำงานอย่างยาวนาน ผู้คนที่ได้สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับระบบ มีผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำงานนั้น กลุ่มอีลีทได้รับส่วนต่างที่มีมูลค่าสูงกว่าผู้ที่สร้างประโยชน์เสียอีก พวกเขาได้รับประโยชน์ผ่านเงินเฟ้อ ในขณะที่ค่าจ้างที่ผู้คนได้รับนั้นกลับเป็นเงินกระดาษที่ถูกผลิตโดยเหล่าอีลีทผ่านระบบเฟียต เงินเหล่านั้นไม่สามารถรักษามูลค่าเอาไว้ได้ เมื่อเวลาผ่านไปเงินกระดาษเหล่านั้นจะแลกทรัพยากรได้น้อยลงหากผู้คนเลือกที่จะเก็บออมเงินไว้เป็นเงิน

สิ่งนี้คือข้อเท็จจริง เหล่าอีลีทอาจดูน่าชิงชังในความสบายที่เหนือคนทั่วไป แต่นั่นเป็นความจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ธรรมชาติได้คัดสรรผู้ที่จะอยู่รอด ผู้คนจะได้อยู่ในจุดที่เหมาะสมกับความสามารถของพวกเขา ลูกหลานของพวกเขาจะมีต้นทุนตามความสามารถของบรรพบุรุษที่ได้สร้างเอาไว้

ผู้เขียนเองก็ไม่ได้รู้สึกชิงชังเหล่าอีลีทกลุ่มไหน เพราะเข้าใจในระบบของธรรมชาติ แต่เมื่อรู้ความจริงเช่นนี้ และกำลังอยู่ในยุคที่กำลังเกิดการเปลี่ยนผ่านของระบบการเงินเช่นตอนนี้ ไม่มีอะไรที่จะสำคัญไปกว่าการเข้าใจว่า “เงินคืออะไร” อีกแล้ว


ว่าด้วย "ปัญหา" | โดย อ.ขิง
อ่านที่ Habla | https://w3.do/gw3liQhF
nostr:naddr1qqxnzd3exs6rxwf4x5erqvf4qgswnhpuu5t78er523qypvn2gcqgn5f8fxs6vprf7g35jxe3renjw9grqsqqqa28e3tmmj

จาก Gamefi สู่ระบบการบนโลกแห่งความจริง | โดย
อ่านที่ Habla | https://w3.do/h0SzeOgy

image

หลายคนคงคุ้นเคยกับ Gamefi เป็นอย่างดี บางคนเริ่มเข้าสู่การลงทุนในโลกคริปโตจาก Gamefi เพราะมันสนุก เข้าใจง่าย และ ได้ผลตอบแทน เราจะไม่พูดว่า Gamefi คืออะไร มันเป็นเรื่องเก่าไปแล้ว ที่จะพูดถึงในตอนนี้

แต่มีบางอย่างใน Gamefi ที่เราเรียนรู้จากมันได้

Gamefi จำลองสถานการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ได้อย่างเด่นชัด มันเป็นเหมือนประเทศเล็กๆ ที่ซ้อนทับอยู่บนโลกแห่งความจริง เมื่ออำนาจในการผลิตเงิน (Token) ถูกผูกเอาไว้ที่กลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง อำนาจที่สร้างผลกระทบต่อเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ระบบการเงินในโลกของ Gamefi ถูกผูกเอาไว้ที่นักพัฒนา ในขณะที่ระบบการเงินในโลกจริง ถูกผูกเอาไว้กับรัฐบาล

นักพัฒนาของ Gamefi สร้างเหรียญขึ้นมาก่อนจำนวนหนึ่ง โดยอ้างว่าเพื่อใช้จ่ายเพิ่มสภาพคล่องของเกมส์ กำหนดปริมาณเหรียญที่ผู้ใช้งานจะได้รับ กำหนดปริมาณการใช้จ่ายเหรียญเพื่อแลกอะไรสักอย่างในระบบ ออกกฎ นโยบาย เงื่อนไขการผลิตเหรียญของผู้ใช้งาน เพิ่มความต้องการสร้างผลตอบแทน เร่งการใช้จ่ายเหรียญ ผ่านการ staking, อัพเกรดไอเทม, ขาย NFT

มันก็ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลของเรา พวกเขากำหนดรายได้ของผู้คนได้ ผ่านนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ กำหนดความสามารถในผลิตเงินของภาคเอกชน ผ่านการกำหนดนโยบาย โครงการรัฐ สร้างกองทุนเพื่อดึงเงินจากภาครัฐ และเอกชน นำกลับมาสร้างเงินเพื่อใช้จ่ายในระบบ พวกเขาต่างมีอำนาจทำได้ทุกอย่างไม่มีข้อจำกัด เหมือนๆกัน

image


เงินหมุนเวียนในโลกของ Gamefi การเพิ่มปริมาณ supply ของเหรียญ ด้วยการออก NFT สำหรับใช้ในการผลิตเงิน ดึงเงินจากมือผู้ใช้งาน กลับเข้าไปในระบบ และผู้ใช้งานก็ยอมจ่าย เพราะพวกเขาต้องการเพิ่มความสามารถในการผลิตเหรียญให้มากขึ้น เพื่อที่พวกเขาจะได้ยังคงรักษาเอาไว้ซึ่งความสามารถในการได้รับผลตอบแทนเอาไว้เท่าเดิม

นานวันเข้าผู้ใช้งานก็เริ่มรู้สึกตัวว่า สิ่งที่เขาลงทุนไป ไม่สามารถรักษาความสามารถนั้นได้ มูลค่าของเหรียญลดน้อยถอยลงทุกวัน มันเริ่มไม่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าอะไรอื่นได้อีก เหรียญไม่มีค่า ให้เอาเวลาไปเสียอีกต่อไปแล้ว

ไม่ต่างอะไรกับ เงินหมุนเวียนในโลกของความจริง เงินถูกผลิตขึ้นมาได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ผ่านการออกพันธบัตรรัฐบาล ผู้ถือพันธบัตรรัฐบาล มีความสามารถในการผลิตเงินเพิ่มเข้าสู่ระบบ เทียบกับโลกของ Gamefi มันก็ไม่ต่างอะไรกับการเสก NFT ขึ้นมาเพื่อเพิ่มอำนาจในการผลิตเงิน

เมื่อมูลค่าของเงินลดน้อยถอยลงทุกวัน ผู้คนต่างก็แสวงหาการลงทุนระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดี เพื่อรักษาเอาไว้ซึ่งความสามารถในการแลกเปลี่ยน ยิ่งเวลาผ่านไป ยิ่งต้องพยายามให้มากขึ้น แสวงหาต่อไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น

เงินในโลกของเราตอนนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับเงินในโลกของ Gamefi มันไร้ค่า และ ใกล้พังเต็มทีแล้ว

image

Author Public Key
npub1l2cp3t052ljhqnt2emsq5py30qqppj3pytprppc4ygjznhv6lzws99ye04